วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โลจิสติกส์(Lojistics)

โลจิสติกส์(lojistics)



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ logistics background
      คำว่าโลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) คือระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นต่างๆ ทุกอย่างที่มีการขนส่ง หรือเคลื่นย้ายจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ สรุปง่ายๆก็คือ ทุกอย่างที่มีเกี่ยวกับการขนส่ง จะเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งหมด เป้าหมายของโลจิสติกส์ นั้นเพื่อ ให้ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการขนส่ง ลดปัญหาต่างๆ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด
การขนส่ง

ที่มาของโลจิสติกส์

       ครั้งแรก คำว่าโลจิสติกส์นั้นเกิดขึ้นจากวงการทหาร ที่ต้องมีการลำเลียงเสบียง อาวุธยุทธโธปกรณ์ ต่างๆ รวมถึง กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ จึงก่อให้เกิดการโลจิสติกส์ขึ้น แต่ไม่แน่ชัด ว่าเริ่มต้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน แต่คร่าวๆ ประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร (Military Logistics Management) หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ
2. การจัดการโลจิสติกส์ด้านวิศวกรรม (Engineering Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็น สำคัญ
3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ (Business Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ
13122011-02-001          1304-004           41032-009

แนวคิดของโลจิสติกส์

      โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้
  1. วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสตร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
  2. บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
  3. การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

การวัดประสิทธิภาพที่เกิดจากการดำเนินการในกิจกรรมโลจิสติกส์

-ต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์
-การตอบสนองอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็น อัตราการหมุนเวียนสินค้า รอบเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
-ความพึงพอใจของลูกค้า
-ความพึงพอใจของทีมงาน

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

1.Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า
2.Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า
3.Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า
4.Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
5.Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า
6.Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา(Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม
8.Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
9.Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต
 Logistics (นิยามทางทหาร) โดย JCs Pub 1-02 except และ NATO

          “ศาสตร์ในการวางแผนและจัดการการเคลื่อนย้าย และบำรุงรักษากอง                กำลังซึ่งการดำเนินงานประกอบไปด้วย การออกแบบ การพัฒนา การ                เก็บรักษา การเคลื่อนย้าย การกระจาย การบำรุงรักษา การขนถ่าย และ              การควบคุมทางวัตถุ และการให้สวัสดิการด้านสุขภาพแก่บุคลากร การ                ก่อสร้าง การบำรุงรักษา การดำเนินงานและการควบคุมสิ่งก่อสร้างต่างๆ            รวมถึงการให้บริการต่างๆ”
      คำนิยาม Logistics โดย MDC, LLogLink/LogisticsWorld, 1997
          “ศาสตร์ของการวางแผน การจัดองค์กร และกิจกรรมการจัดการต่างๆ ที่มี            ผลต่อการผลิตและการให้บริการ”

วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)วิศวกรรมโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ (Benjamin S. Blanchard, 2004)

        1. การจำกัดความเริ่มต้นของความต้องการการสนับสนุนระบบ
           2. การพัฒนาของเกณฑ์เพื่อเป็นปัจจัยการป้อนเข้าสู่การออกแบบ
           3. การประเมินทางเลือกของการออกแบบตลอดจนการศึกษาการประเมินผลได้ผลเสีย ความเหมาะสมของการออกแบบ และการทบทวนการออกแบบ
           4. การกำหนดความต้องการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการออกแบบนั้น (อาทิเช่น จำนวนคน ระดับของทักษะ อะไหล่ ส่วนประกอบ เครื่องมือทดสอบและสนับสนุน การขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก ข้อมูล และคอมพิวเตอร์)
           5. ดำเนินการทำการประเมินของโครงสร้างสนับสนุนทั้งหมดด้วยวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการวัดประเมินกระบวนการสม่ำเสมอ การประเมิน และคำแนะนำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น (เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การประเมิน และประสิทธิภาพการปรับปรุงของกระบวนการ)
   จากคำจำกัดความข้างต้น จะเห็นได้ว่า โลจิสติกส์แบบย้อนกลับได้ครอบคลุม   ประเด็นที่กว้าง อาทิเช่น การนำกลับมาผลิตใหม่ (value-added recovery) นำ   มาปรับปรุงใหม่ กระบวนการคืนสินค้าเพื่อนำมาทำลาย หรือเป็นสินค้าคงคลังแบบฤดูกาล การเรียกสินค้าคืน และสินค้าคงคลังที่เกิน โลจิสติกส์แบบย้อนกลับยังรวมการ recycle การกำจัดวัสดุที่มีพิษ การกำจัดอุปกรณ์ที่ล้าสมัย และการนำสินทรัพย์กลับมาใช้ใหม่ Layman ได้ให้นิยามไว้ว่า โลจิสติกส์แบบย้อนกลับคือกระบวนการของการเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว และพยายามที่จะทำให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นใหม่ด้วยวิธีการการปรับปรุงใหม่ที่ดีที่สุด

Production Logistics 

    Production Logistics (หรือ Acquisition Logistics) คือ ส่วนของโลจิสต์กส์ที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัย การออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการจัดการวัสดุ นอกจากนั้น Production Logistics ยังรวมถึง การทำให้เป็นมาตรฐาน การทำสัญญา การประกันคุณภาพ การจัดซื้ออะไหล่ การวิเคราะห์ reliability มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือ รายละเอียด (Specification) และกระบวนการผลิต การทดลองและการทดสอบ การตั้งรหัส เอกสารเครื่องมือ การปรับปรุงและการควบคุม

Consumer Logistics 

    Consumer Logistics (หรือ Operational Logistics) คือ ส่วนของโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับตั้งแต่เริ่มเป็นผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ การขนส่ง การบำรุงรักษา (รวมทั้ง การซ่อม และความสามารถของการบริการ) การปฏิบัติและการจัดการวัสดุ นอกจากนั้น Consumer Logistics ยังรวมถึงการควบคุมสต๊อก การวางแผน facility การควบคุมการเคลื่อนย้าย รายงานของเสีย และความน่าเชื่อถือได้ มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการจัดเก็บ การขนส่ง และการอบรมที่เกี่ยวข้อง
      

Global Logistics

     ในยุคการเปิดการค้าเสรีในปัจจุบันส่งผลให้การดำเนินธุรกิจในระดับสากลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตอยู่เสมอ ผู้บริหารมักกำหนดเป้าหมายไปทั่วโลก เพื่อส่งเสริมตลาดต่างประเทศ กิจการจะต้องมีระบบจัดส่งหรือโลจิสติกส์หรือเครือข่ายที่สร้างความพึงพอใจ ให้กับความต้องการโดยเฉพาะในตลาดเหล่านั้น
          การจัดการระบบโลจิสติกส์ในระดับสากลมีความซับซ้อนมากกว่าระบบเครือข่ายภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วางแผน และพัฒนากระบวนการในการควบคุมเพื่อติดตามตรวจสอบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของระบบการกระจายสินค้าในตลาดต่างประเทศ โดยกิจกรรมใน global logistics จะประกอบไปด้วย
  1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสภาพตลาด
  2. การวางแผน
  3. การวางโครงสร้าง
  4. การนำแผนไปปฏิบัติ
  5. การควบคุมระบบโลจิสติกส์


โลจิสติกส์ด้านการทหาร

     โลจิสติกส์เริ่มเป็นที่รู้จักในครั้งแรกสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในความสามารถการกระจายและจัดเก็บยุทธภัณฑ์และกำลังพลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของกองทัพสหรัฐในครั้งนั้น

โลจิสติกส์ธุรกิจ 

   จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า

     จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า ประกอบไปด้วย

  • โรงงานที่ทำการผลิตหรือประกอบผลิตภัณฑ์
  • คลังพัสดุหรือที่เก็บสินค้า เป็นความคิดเกี่ยวกับคลังสินค้าแบบมาตรฐานเพื่อที่จะเก็บสินค้า (สินค้าคงคลังระดับสูง)
  • ศูนย์กระจายสินค้า ใช้สำหรับกระบวนการสั่งสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (สินค้าคงคลังระดับรองลงมา) และยังใช้สำหรับรับสินค้าที่ถูกตีกลับจากลูกค้าด้วย
  • จุดโอนย้ายสินค้า เป็นจุดที่มีกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งอาจจะมีการประกอบสินค้าใหม่ตามตารางการส่งสินค้า (เคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น)
  • ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าปลีกลูกโซ่ สหกรณ์ผู้บริโภค เป็นจุดที่รวมกำลังซื้อของผู้บริโภค และบริษัทย่อยส่วนใหญ่มีบริษัทอื่นเป็นเจ้าของและแฟรนไชส์ เป็นเจ้าของจุดขายแม้ว่าจะใช้แบรนด์ของบริษัทอื่น
ทั้งนี้อาจมีตัวกลางในการดำเนินงานสำหรับตัวแทนระหว่างจุดเชื่อมต่อ เช่นตัวแทนขายหรือนายหน้า


ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น